บทที่ 2 อะตอมและสมบัติของธาตุ

12.1 แบบจำลองอะตอม

  • แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
     ในปี พ.ศ.2346 (ค.ศ.1803) จอห์น ดอลตัน (John Dalton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบ มีสาระสำคัญดังนี้
     1.ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆหลายอนุภาค เรียกอนุภาคเหล่านี้ว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
     2.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน แต่จะมีสมบัติ แตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น 
     3.สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยา เคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ
   ลักษณะแบบจำลองอะตอมของดอลตัน
  • แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
     เซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (Joseph John Thomson) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของแก๊สโดยการใช้หลอดรังสีแคโทด เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นรังสีแคโทดได้ด้วยตาเปล่า จึงต้องฉาบสารเรืองแสงไว้ที่ฉาก เมื่อรังสีแคโทดตกกระทบที่ฉากจะปรากฏเป็นจุดเรืองแสงสามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้
      การเคลื่อนที่ของรังสีแคโทด
รังสีแคโทดประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ จากข้อมูลการทดลองร่วมกับทฤษฎีทางแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ทอมสันนำมาใช้คำนวณอัตราส่วนของประจุต่อมวลของรังสีแคโทดได้ ทอมสันได้ทดลองเพื่อศึกษาอัตราส่วนของประจุต่อมวลของรังสีแคโทดซ้ำหลายครั้งโดยเปลี่ยนชนิดของแก๊สและชนิดของโลหะที่ใช้ทำเป็นขั้วแคโทดปรากฏว่าอัตราส่วนของประจุต่อมวลของรังสีแคโทดมีค่าโดยประมาณเท่ากันคือ 1.76 × 10^8 คูลอมบ์/กรัม จึงสรุปได้ว่าอนุภาครังสีแคโทดที่ออกมาจากโลหะต่างชนิดกันเป็นอนุภาคเดียวกันซึ่งต่อมาได้ด้วยอนุภาคนี้ว่า อิเล็กตรอน
  • แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
เมื่อปีพ..2454 เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และฮันส์ ไกเกอร์ (Hans Giger) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการทดลองโดยยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบางๆ ผลการทดลองไม่สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองอะตอมของทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ดอธิบายลักษณะภายในอะตอมว่า การที่รังสีแอลฟาส่วนใหญ่ผ่านแผ่นทองคำไปได้แสดงว่าภายในแผ่นทองคำต้องมีที่ว่างอยู่เป็นบริเวณกว้าง การที่รังสีแอลฟาบางอนุภาคเบี่ยงเบนหรือสะท้อนกลับมาบริเวณด้านในของฉากเรืองแสงแสดงว่าภายในอะตอมน่าจะมีกลุ่มอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก มีมวลสูงมากกว่ารังสีแอลฟาและมีประจุบวก จึงได้เสนอแบบจำลองใหม่ว่า อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กอยู่ภายในและมีประจุไฟฟ้าโดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบดังรูป
  • แบบจำลองอะตอมของโบร์
     สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่างกันและมีความถี่ต่อเนื่องกันเป็นช่วงกว้างมีทั้งที่มองเห็นได้และมองเห็นไม่ได้มีชื่อเรียกต่างกัน แสงที่ประสาทตาของมนุษย์สามารถรับรู้ได้เรียกว่า แสงที่ตามองเห็น ความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400 ถึง 700 นาโนเมตร ซึ่งประกอบด้วยแสงสีต่างๆแต่ประสาทตาของมนุษย์ไม่สามารถแยกแสงที่มองเห็นเป็นสีต่างๆได้เอง ทำให้มองเห็นสีรวมกันซึ่งเรียกว่าแสงขาวและเมื่อแสงขาว ส่องผ่านปริซึม แสงขาวจะแยกออกเป็นแสงสีรุ้งต่อเนื่องกันเรียกว่าแถบสเปกตรัมของแสงขาว
มักซ์ พลังค์ นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมันได้ศึกษาพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความสำคัญระหว่างพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความถี่ของคลื่นนั้นว่า พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแปรผันตามความถี่ของคลื่นและแปรผกผันกับความยาวของคลื่นดังความสัมพันธ์ต่อไปนี้
E แปรผันตรงกับ v
หรือ E = hv 
เนื่องจาก E = c/แลมดาร์
ดังนั้น E = hc/แลมดาร์

เมื่อ E คือพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีหน่วยเป็นจูล


h คือค่าคงตัวของพลังค์ มีค่า 6.626 × 10^-34 จูลต่อวินาที


v คือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์


c คือความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เท่ากับ 3 × 10^8 เมตรต่อวินาที
และ แลมดาร์ คือ ความยาวคลื่นมีหน่วยเป็นเมตร

ช่วงความยาวคลื่นและพลังงานของแถบสีต่างๆในสเปกตรัมของแสงขาว
สเปกตรัม
ความยาวคลื่น (nm)
แสงสีม่วง
แสงสีคราม - น้ำเงิน
แสงสีเขียว
แสงสีเหลือง
แสงสีแสด (ส้ม)
แสงสีแดง
400-420
420-490
580-590
590-650
590-650
650-700

  • แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
     แบบจำลองอะตอมของโบร์มีข้อจำกัดคือไม่สามารถใช้อธิบายสเปกตรัมของอะตอมที่มีลายเล็กตรอนได้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมจนได้รับข้อมูลเพียงพอที่เชื่อถือว่าอิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นทางอนุภาพและคลื่น จากการประยุกต์ใช้สมการทางคณิตศาสตร์และใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ พบว่าสามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของธาตุได้ถูกต้องกว่าแบบจำลองของโบร์ และสามารถอธิบายได้ว่าอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอม จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสบางบริเวณเท่านั้นทำให้สามารถมโนภาพได้ว่าอะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่กลุ่มหมอกทึบมีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่าบริเวณกลุ่มหมอกจาง

2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
  • อนุภาคในอะตอม
     ในปีพ.ศ 2451 โรเบิร์ตแอนดรูส์มิลลิแกน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ทำการหาค่าประจุของอิเล็กตรอนโดยการอาศัยสังเกตหยดน้ำมันในสนามไฟฟ้า ดังรูป
เมื่อน้ำมันร่วงผ่านรูบนขั้วไฟฟ้าบวกกระทบรังสีจะมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น ทำให้ละอองน้ำมันบังหมดเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าบวกบางหยดเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าล็อค และบางหยดลอยนิ่งอยู่ระหว่างสนามไฟฟ้าขนาดของหยดน้ำมันที่ลอยนิ่งอยู่ระหว่างสนามไฟฟ้าสามารถสังเกตได้จากกล้องจุลทรรศน์และนำมาคำนวณหามวลของหยดน้ำมันที่สร้างความหนาแน่นของน้ำมัน และจากความสำคัญของน้ำหนักของหยดน้ำมันที่ลอยนิ่งเท่ากับแรงที่เกิดจากสนามไฟฟ้าทำให้สามารถคำนวณค่าประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมันได้ ซึ่งพบว่าค่าประจุไฟฟ้าบนหยดน้ำมันมีค่าเป็นจำนวนเท่ากับ 1.60 × 10^-19 คูลอมบ์ มิลลิแกนจึงสรุปว่าประจุของอิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับ 1.60 × 10^-19 คูลอมบ์ ไม่นำมาใช้คำนวณร่วมกับค่าประจุต่อมวลที่รายงานไว้โดยทอมสันจะได้หมดอิเล็กตรอนเท่ากับ 9.11 × 10^-28 กรัม
ในปีพ.ศ. 2429 ออยเกนโกลด์ ชไตน์ ได้ทำการดัดแปลงหลอดรังสีแคโทดโดยการสลับตำแหน่งของแคโทดแอโนดซึ่งเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปพบว่าจะเกิดการเรืองแสงแสดงว่ามีรังสีจากแอโนดซึ่ง เรียกรังสีนี้ว่ารังสีแคแนลหรือรังสีแอโนดซึ่งมีประจุบวก

    ออยเกนโกลด์ชไตน์ได้ทำการทดลองกับแก๊สหลายชนิด พบว่ารังสีเอกซ์มีค่าประจุต่อมวลไม่คงที่ จนกระทั่งกลุ่มนักวิจัยนำทีมโดยรัฐศาสตร์และทอมสันได้ทำการศึกษาหลอดในลักษณะเดียวกันที่บรรจุแก๊สไฮโดรเจนทำให้ได้ข้อสรุปว่า อนุภาคบวกมีค่าประจุเท่ากับอิเล็กตรอนและหาค่ามวลของประจุได้เป็น 1.673 × 10^-24 กรัม ซึ่งมากกว่ามวลอิเล็กตรอนประมาณ 1840 เท่าที่อนุภาคนี้ว่าโปรตอน
ในปีพ.ศ. 2475 เจมส์แชดวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังอะตอมของธาตุต่างๆ และทดสอบผลการทดลองด้วยเครื่องมือที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ทราบว่าในนิวเคลียสมีอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้าและเรียกว่า นิวตรอน ซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตอน การค้นพบนิวตรอนช่วยอธิบายและสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับมวลของอะตอม ดังนั้นอิเล็กตรอนโปรตอนและนิวตรอนจึงเป็นอนุภาคในอะตอมซึ่งอนุภาคแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้



  • เลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
     อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีจำนวนโปรตอนเฉพาะตัวไม่ซ้ำกับธาตุอื่น ตัวเลขที่แสดงจำนวนโปรตอนเรียกว่า เลขอะตอม เรียกผลรวมของนิวตรอนและโปรตอนว่า เลขมวล สัญลักษณ์ที่เขียนเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของธาตุ เลขอะตอม และเลขมวลของอะตอม เรียกว่า สัญลักษณ์นิวเคลียร์ วิธีเขียนคือ เขียนเลขอะตอมไว้ด้านล่างซ้าย และเลขมวลไว้ด้านบนซ้ายของสัญลักษณ์

     อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจมีได้หลายค่า ทำให้อะตอมของธาตุเดียวกันมีมวลต่างกัน เฟรเดอริก ซอดดี นักเคมีชาวอังกฤษ เรียกอะตอมของธาตุเดียวกันที่มีเลขมวลต่างกันว่า ไอโซโทป นอกจากนี้ยังมี ไอโซโทน หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันแต่มีนิวตรอนเท่ากัน ไอโซบาร์ หมายถึง ธาตุต่างชนิดกันเลขมวลเท่ากันแต่ละอะตอมต่างกัน และไอโซอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ธาตุหรือไอออนที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน

2.3การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

  • จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน
     อะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันในนิวเคลียส โดยอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ล้อมรอบและอยู่ในระดับพลังงานต่างกัน
     ระดับพลังงานที่ 1 มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด 2 อิเล็กตรอน
     ระดับพลังงานที่ 2 มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด 8 อิเล็กตรอน
ระดับพลังงานที่ 3 มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด 18 อิเล็กตรอน
นั่นคือ จำนวนอิเล็กตรอนมากที่สุดที่แต่ละระดับพลังงานจะมีค่าเท่ากับ 2n^2

  • ระดับพลังงานหลัก และระดับพลังงานย่อย
การอธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของโบว์ได้จุดประกายให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเกิดความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าเส้นสเปกตรัมที่เกิดขึ้นนอกจากเป็นการคายพลังงานของอิเล็กตรอนจากระดับพลังงานหลักซึ่งแทนด้วย n แล้วยังเป็นการคายพลังงานของอิเล็กตรอนจากระดับพลังงานย่อยของแต่ละระดับพลังงานหลักอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดระดับพลังงานย่อยเป็นตัวอักษร s p d และ f ตามลำดับ


จากรูป จะสรุปได้ว่า ระดับพลังงานที่1 (n=1 ) มี 1 ระดับพลังงานย่อยคือ s
ระดับพลังงานหลักที่ 2 (n=2) มี 2 ระดับพลังงานย่อยคือ s p
ระดับพลังงานที่ 3 (n=3) มี 3 ระดับพลังงานย่อยคือ s p d
และระดับพลังงานหลักที่ 4 (n=4) มี 4 ระดับพลังงานย่อยคือ s p d f

  • ออร์บิทัล
บริเวณรอบนิวเคลียสมีโอกาสพบอิเล็กตรอนและมีพลังงานเฉพาะ เรียกว่า ออร์บิทัล ซึ่งแต่ละระดับพลังงานย่อยมีค่าออร์บิทัลต่างกัน
ระดับพลังงานย่อย s มี 1 ออร์บิทัล
ระดับพลังงานย่อย p มี 3 ออร์บิทัล
ระดับพลังงานย่อย d มี 5 ออร์บิทัล
ระดับพลังงานย่อย f มี 7 ออร์บิทัล
จำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดในระดับพลังงานย่อย s p d และ f มีค่าเท่ากับ 2 6 10 และ 14 ตามลำดับ แต่เนื่องจากพลังงานย่อย s p d และ f มี 1 3 5 และ 7 ออร์บิทัลตามลำดับ แสดงว่า 1 ออร์บิทัลบรรจุอิเล็กตรอนได้้ 2 อิเล็กตรอน

  • หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
การจัดเรียงให้พิจารณาตามหลักอาฟบาว คือต้องบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดและว่างอยู่ก่อนเสมอ
     เริ่มจาก 1s 2s 2p 3s ... ตามลำดับ

2.4 ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก

  • วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ
 Johann Dobereiner(..1780-1849) จัดเรียงธาตุเป็นหมวดหมู่ โดยนำธาตุที่มีสมบัติคล้ายกันมาจัดไว้ในหมู่เดียวกันหมู่ละ 3 ธาตุ เรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากและธาตุแต่ละหมู่มวลอะตอมที่อยู่ตรงกลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีก 2 ธาตุ กฎนี้เรียกว่า Law of Triads

     John Newlands(..1837-1898) ได้จัดธาตุต่างๆ เป็นตารางธาตุ โดยพยายามเรียงลำดับตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากเป็นแถวตามแนวนอน สมบัติของธาตุจะมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงๆ ของธาตุที่ 8 ตารางธาตุแบบนี้มีข้อจำกัดคือใช้ได้กับ 20 ธาตุแรกเท่านั้น
     Dmitri Mendeleev(..1834-1907) ได้เสนอการจัดตารางธาตุออกมาในลักษณะคล้ายๆกัน โดยพบว่าสมบัติต่างๆของธาตุสัมพันธ์กับมวลอะตอมของธาตุตาม Periodic Law คือ “ สมบัติของธาตุเป็นไปตามมวลอะตอมของธาตุโดยเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ ตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น”
     Henry Moseley(..1887-1915) ได้จัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก ดังนั้นในปัจจุบันPeriodic  Law มีความหมายว่า “สมบัติต่างๆ ของธาตุจะขึ้นอยู่กับเลขอะตอมของธาตุนั้นและขึ้นอยู่กับการจัดอิเล็กตรอนของธาตุเหล่านั้น”
      ในปีพ.ศ.2456 เฮนรี โมสลีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เสนอให้จัดธาตุเรียงตามเลขอะตอม เนื่องจากสมบัติต่างๆของธาตุมีความสัมพันธ์กับประจุบวกในนิวเคลียสหรือเลขอะตอมมากกว่ามวลอะตอม ตารางธาตุในปัจจุบันจึงได้ปรับปรุงมาจากตารางธาตุของเมนเดเลเอฟแต่เรียงธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปมาก ดังรูป


  • กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ
     แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แแก่ ธาตุโลหะ (นำความร้อนและไฟฟ้าดี) ธาตุกึ่งโลหะ(นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้องไม่ดี) และธาตุอโลหะ (ไม่นำไฟฟ้า ยกเว้น คาร์บอนและฟอสฟอรัสดำ)
  • ขนาดไอออน

     อะตอมซึ่งมีจำนวนโปรตอนเท่ากับอิเล็กตรอนเมื่อรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาหรือเสียอิเล็กตรอนออกไปอะตอมจะกลายเป็นไอออน การบอกขนาดของไอออนทำได้เช่นเดียวกับการบอกขนาดของอะตอม กล่าวคือ จะบอกเป็นค่ารัศมีไอออนซึ่งพิจารณาจากระยะทางระหว่างนิวเคลียสของไอออนคู่หนึ่งหนึ่งที่ยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันในโครงผลึก



     เมื่อโลหะ ทำปฏิกิริยากับอโลหะอะตอมของโลหะจะเสียเวเลนซ์อิเล็กตรอนจนกลายเป็นไอออนบวก จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมจึงลดลง ทำให้แรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนลดลงด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแรงดึงดูดระหว่างประจุในนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนจากเพิ่มมากขึ้น ไอออนบวกจึงมีขนาดเล็กกว่าอะตอมเดิม ส่วนอะตอมของอโลหะนั้นส่วนใหญ่จะรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้ามาและเกิดเป็นไอออนลบเนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนอิเล็กตรอน ขอบเขตของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนจะขยายออกไปจากเดิม ไอออนลบจึงมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมเดิม ดังรูป



  • พลังงานไอออไนเซชัน
     คือ พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมในสถานะแก๊ส หรือค่าIE ถ้า IE น้อยแสดงว่าทำให้เป็นไอออนบวกง่าย แต่ถ้า IE มาก จะทำให้เป็นไอออนบวกยาก
  • สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน 
     คือ พลังงานที่ถูกคายออกมาเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน หรือค่าEA ถ้าค่าEA เป็นบวก แสดงว่าอะตอมของธาตุนั้นๆมีแนวโน้มรับอิเล็กตรอนได้ดี
  • อิเล็กโทรเนกาวิตี
     คือ ความสามารถของอะตอมในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในโมเลกุลของสาร หรือค่าEN

2.5 ธาตุแทรนซิชัน

  • สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
  นักเคมีจัดธาตุแทรนซิชันไว้ในกลุ่มของธาตุที่เป็นโลหะ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกับธาตุหมู่ IA  IIA  และ IIIA 


         เมื่อพิจารณาข้อมูลในตาราง จะเห็นได้ว่าธาตุแทรนซิชันในคาบที่ ส่วนใหญ่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น และมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยที่อยู่ถัดจากระดับพลังงานนอกสุดเข้าไปไม่เท่ากัน เนื่องจากอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายบรรจุอยู่ในระดับพลังงานย่อย  3d เช่น ธาตุ  Sc  มีจำนวนอิเล็กตรอนใน 3d เป็น  1  ธาตุ  Ti ซึ่งอยู่ในลำดับถัดไปมีอิเล็กตรอนใน 3d เป็น และเพิ่มขึ้นจนครบ  10  ในธาตุ Cuการที่มีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นในออร์บิทัล 3d ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนวงในที่สามารถกำบังแรงดึงดูดจากนิวเคลียสที่มีต่ออิเล็กตรอนในออร์บิทัล 4s  ได้มากแม้ว่าประจุในนิวเคลียสจะเพิ่มขึ้น ขนาด
อะตอมของธาตุแทรนซิชันคาบที่ 4  จากซ้ายไปขวาจะมีขนาดลดลงเล็กน้อยและไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเหมือนธาตุโพแทสเซียมและแคลเซียม

2.6 ธาตุกัมมันตรังสี
  • การเกิดกัมมันตภาพรังสี
      เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสี เพราะนิวเคลียสมีพลังงานสูงมากและไม่เสถียรจึงปล่อยพลังงานออกมาในรูปของอนุภาคหรือรังสี จากการศึกษานักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ารังสีที่แผ่ออกมาจากไอโซโทปกัมมันตรังสีอาจเป็นรังสีแอลฟาบีตาหรือแกมมาสมบัติของรังสีบางชนิด
  • การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี
การแผ่รังสีแอลฟา ส่วนใหญ่เกิดกับนิวเคลียร์ที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 83 ขึ้นไป และมีจำนวนนิวตรอนต่อโปรตอนในสัดส่วนไม่เหมาะสม
การแผ่รังสีบีตา เกิดกับนิวเคลียสที่มีจำนวนนิวตรอนมากกว่าโปรตอนมาก อิเล็กตรอนจะถูกปลดปล่อยจากนิวเคลียสในรูปของรังสีบีตา
การแผ่รังสีแกมมา เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีพลังงานสูงมาก แต่นิวเคลียสที่เกิดใหม่ยังไม่เสถียรเพราะมีพลังงานสูงจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงให้มีพลังงานต่ำลงโดยปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาเป็นรังสีแกมมา
  • อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี
     กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวันทั้งการรับประทานอาหารดื่มน้ำหายใจด้วยมีโอกาสที่มนุษย์จะได้รับรังสีจากไอโซโทปกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย แม้มนุษย์จะได้รับรังสีจากกิจวัตรประจำวันแต่การได้รับรังสีจากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อยโดยน้อยกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ต เซลล์เนื้อเยื่อ สามารถฟื้นตัวได้ แต่การได้รับรังสีมากกว่า 100 มิลลิซีเวิร์ต ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ เช่นการคลื่นไส้ การอาเจียนอา การปวดหัว การเป็นมะเร็ง

  • ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสีจะสลายตัวให้รังสีชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาได้เองตลอดเวลา ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะสลายตัวได้เร็วหรือช้าต่างกัน ปริมาณการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีจะบอกเป็นครึ่งชีวิต ใช้สัญลักษณ์ t_{1/2} ครึ่งชีวิต หมายถึง ระยะเวลาที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี สลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุชนิดหนึ่งๆ จะมีครึ่งชีวิตคงเดิมไม่ว่าจะอยู่ในรูปของธาตุหรือเกิดเป็นสารประกอบ เช่น Na-24 มีครึ่งชีวิต 15 ชั่วโมง หมายความว่าถ้าเริ่มต้นมี Na-24 10 กรัม นิวเคลียสนี้จะสลายตัวให้รังสีออกมาจนกระทั่งเวลาผ่านไปครบ 15 ชั่วโมง จะมี Na-24เหลือ กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 15 ชั่วโมงจะมี Na-24เหลืออยู่ 2.5 กรัม นั้นคือเวลาผ่านไปทุกๆ 15 ชั่วโมง Na-24 จะสลายตัวไปเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม

  • ปฏิกิริยานิวเคลียร์
      ปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของไอโซโทปกัมมันตรังสีเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่หรือเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดเล็กแล้วได้ไอโซโทปใหม่หรือนิวเคลียสของธาตุใหม่รวมทั้งมีพลังงานเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเป็นจำนวนมหาศาลซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
กระบวนการที่นิวเคลียสของไอโซโทปของธาตุบางชนิด แตกออกเป็นไอโซโทปของธาตุที่เบากว่า เรียกว่า ฟิชชัน ในกรณีที่นิวเคลียสของธาตุเบา 2 ชนิดหลอมรวมกันเกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่มีมวลสูงกว่า เดิมและให้พลังงานปริมาณมาก ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ฟิวชัน ปฏิกิริยาทั้งสองนี้เป็นปฏิกิริยากับที่เกิดบนดวงอาทิตย์ การเกิดฟิวชันจะต้องใช้พลังงานเริ่มต้นสูงมากและเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสที่จะเข้าร่วมกันซึ่งประมาณว่าจะต้องมีอุณหภูมิสูงถึงหลายล้านองศาเซลเซียส

  • เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี
-ด้านธรณีวิทยา ใช้คาร์บอน -14 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 5730 ปี หาอายุของวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
      -ด้านการแพทย์ ใช้เพื่อศึกษาความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยให้คนไข้รับประทานอาหารหรือยาที่มีไอโซโทปกัมมันตรังสีจำนวนเล็กน้อย จากนั้นใช้เครื่องมือตรวจสอบรังสีเพื่อติดตามดูผลการดูดซึมไอโซโทปกัมมันตรังสีของระบบอวัยวะต่างๆ
      -ด้านเกษตรกรรม ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีในการติดตามระยะเวลาของการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช 
-ด้านอุตสาหกรรม ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีกับงานหลายอย่าง เช่น ใช้ตรวจหารอยตำหนิในโลหะหรือรอยรั่วของท่อขนส่งของเหลว
  -การเก็บถนอมอาหาร ใช้โคบอลต์ -60 ซึ่งจะให้รังสีแกมมาที่ไม่มีผลตกค้างและรังสีจะทำลายแบคทีเรียจึงช่วยเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานหลายวัน


ที่มา:หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เคมี เล่ม1 โดยสสวท.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น